ENERGY NETWORK

ENERGY NETWORK

02 February 2019 | 04:38am

Media Content

เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (ONE BELT ONE ROAD PROJECT: OBOR)

เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักของประเทศจีน ผลักดันการเชื่อมโยงและการพัฒนาเส้นการค้าในภูมิภาคเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างประเทศจีนและประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศทั่วโลกที่อยู่บนเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรป เป็นการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม พลังงาน การค้า และการสื่อสาร รวมทั้งด้านอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย  2 ส่วนที่สำคัญคือ

  1. วงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก (SILK Road Economic Belt:SREB)
  2. เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road:MSR)

ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างจีน ผ่านทางเอเชียกลาง รัสเซีย และยุโรป  รวมถึงการเชื่อมโยงจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SREB จะมุ่งเน้นการสร้างสะพานข้ามพื้นดินแห่งใหม่ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ระเบียงเศรษฐกิจ จีน-คาบสมุทรอินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor : CICPEC)

โดยมีเครือข่ายรถไฟหลัก 3 เส้นทาง เริ่มต้นจากคุนหมิง และจาก 2 ใน 3 เส้นทางจะสิ้นสุดในกรุงเทพฯ และอีกเส้นทางหนึ่งผ่านกรุงเทพฯและไปสิ้นสุดเส้นทางในประเทศสิงคโปร์ ประกอบด้วย

  1. เส้นทางรถไฟสายตะวันออก: เริ่มจากเมืองคุนหมิง ประเทศจีนผ่านทางเวียดนาม และกัมพูชา เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟจากชายแดนไทยสู่กรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถไฟทั้งหมดในประเทศจีนและส่วนใหญ่ของเวียดนามเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังคงขาดเส้นทางจากนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ไปยังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาใหม่อีกครั้ง
  2. เส้นทางรถไฟสายตะวันตก: เริ่มจากเมืองคุนหมิง ประเทศจีนผ่านทางพม่าไปยังกรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานในการทำให้เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากยังคงขาดเส้นทางในส่วนของประเทศพม่า
  3. เส้นทางรถไฟสายกลาง: เริ่มต้นจากคุนหมิง ประเทศจีนผ่านลาว ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ การสร้างทางรถไฟภายในประเทศจีนยังคงอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเกินกว่าครึ่ง รวมถึงเมืองบ่อเต็นไปยังเวียงจันทน์ ประเทศลาว มีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2563 หากโครงการฯดังกล่าวแล้วเสร็จจะกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพทางการค้าในภูมิภาคกับจีนตอนใต้ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมันจากโรงกลั่นของไทยอีกด้วย

เส้นทางรถไฟสายแพนเอเชียและ ท่อขนส่งน้ำมัน TPN

เส้นทางรถไฟสายแพนเอเชียเป็นจุดเชื่อมโยงเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านกิจกรรมทางการค้าในอินโดจีนกับทางตอนใต้ของจีน นอกจากการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันแล้วยังช่วยการจัดหาผลิตภัณฑ์น้ำมัน จากโรงกลั่นของไทยไปยังจีนตอนใต้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเรือบรรทุกน้ำมันที่ส่งออกมาจากโรงกลั่นของไทยต้องใช้ระยะเดินทางกว่า 1,000 กิโลเมตรจากท่าเรือบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อข้ามพรมแดน 2 ครั้ง

เครือข่ายทางรถไฟที่เชื่อมโยงทางตอนใต้ของจีนผ่านประเทศลาว ไทย และมาเลเซีย นั้นสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ TPN ในอนาคตอันใกล้นี้ และเครือข่ายรถไฟมีกำหนดการจะเสร็จสิ้นจากตอนใต้ของจีนถึงเวียงจันทน์ในปี 2564 ซึ่งจะครอบคลุมถึงพื้นที่ ที่สามารถเข้าถึงระบบการขนส่งทางท่อของ TPN

ความต้องการใช้น้ำมันของจีนตอนใต้และลาวตอนบน

TPN ได้วางแผนที่จะศึกษาการจัดตั้งคลังน้ำมันเวียงจันทน์ (VIENTIEN OIL TERMINAL) ที่ท่านาแล้ง เวียงจันทน์ ปัจจุบันท่านาแล้งเป็นศูนย์กลางการนำเข้าสินค้าต่างๆ ที่สำคัญจากประเทศไทยของลาว และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์คลังเก็บสินค้าที่สำคัญในอนาคต ซึ่งเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าระหว่างจีนตอนใต้กับไทย ผ่านประเทศลาว

ผลิตภัณฑ์น้ำมันจากคลังขอนแก่นของ TPN สามารถส่งไปยังคลังน้ำมันเวียงจันทน์ โดยในระยะแรกสามารถส่งได้หลากหลายช่องทาง เช่น ถนนโดยรถบรรทุก ทางรถไฟ และขนส่งน้ำมันทางท่อจากคลังขอนแก่น ไปยังคลังน้ำมันเวียงจันทน์ในอนาคต คลังน้ำมันเวียงจันทน์สามารถติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการรับ-ส่งน้ำมันทางรถไฟ เพื่อขนส่งทางรถไฟไปยังจีนตอนใต้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน

ปัจจุบันจีนตอนใต้นำเข้าน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันของไทย ปริมาณ 200 – 300 ล้านลิตรต่อปี ภายใต้การขนส่งทางรถบรรทุก อย่างไรก็ตามในอนาคตระบบการขนส่งน้ำมันจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านเครือข่ายการขนส่งน้ำมันทางท่อของ TPN ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายรถไฟ One belt one road project (OBOR) ที่ท่านาแล้ง ส่งผลให้ต้นทุนระบบการขนส่งลดลงและสามารถเข้าถึงประเทศจีนชั้นในได้ และปริมาณการใช้น้ำมันอาจเพิ่มขึ้นถึง 500-600 ล้านลิตรต่อปี

Media Content
Media Content